สืบสานตำนานกระเบื้องสุโขทัย งานศิลป์บนผืนหลังคา
สืบสานตำนานกระเบื้องสุโขทัย งานศิลป์บนผืนหลังคา
กระเบื้องสุโขทัยหรือกระเบื้องใบโพธิ์มีประวัติความเป็นมาอันยาวนานและมีความสำคัญทางสถาปัตยกรรมไทย นอกจากรูปทรงที่เป็นเอกลักษณ์แล้ว ยังมีความหมายเชิงสัญลักษณ์ที่ลึกซึ้ง การออกแบบให้ปลายกระเบื้องคล้ายใบโพธิ์นั้นไม่เพียงแต่สวยงาม แต่ยังสื่อถึงความร่มเย็นและความเป็นมงคล ซึ่งสอดคล้องกับความเชื่อทางพุทธศาสนาที่มีต้นโพธิ์เป็นสัญลักษณ์แห่งการตรัสรู้
กระเบื้องหลังคาโบสถ์ กระเบื้องสุโขทัยไม่เพียงแต่ใช้ในวัดวาอารามเท่านั้น แต่ยังเป็นที่นิยมในการมุงหลังคาวัด หลังคาโบสถ์ หลังคาหอระฆัง และอาคารต่างๆในวัด รวมถึงมุงหลังคาเรือนไทยและเวียงวังของเจ้านายชั้นสูง หลังคาบ้านทรงไทยประยุคแบบต่างๆ จั่ว ปั้นหยา โดม ฯลฯ แสดงให้เห็นถึงคุณค่าและความสำคัญในสังคมไทย การใช้กระเบื้องสุโขทัยในอาคารต่างๆ ไม่เพียงแต่ให้ความสวยงามทางสถาปัตยกรรม แต่ยังเป็นการสืบทอดภูมิปัญญาและศิลปวัฒนธรรมไทยอีกด้วย กระเบื้องหลังคาดินเผา
คุณสมบัติของกระเบื้องสุโขทัย
- ความลาดชันของหลังคาที่ 22 องศาขึ้น หรือเอียง (สโลป) มากกว่า เมตรละ 0.404 เมตร(40.4 ซม.) ขึ้นไปช่วยให้น้ำไหลลงได้อย่างรวดเร็ว ป้องกันการรั่วซึมได้ดี
- ระยะแป(ระแนง)วัดที่ระยะขอกระเบื้องเกี่ยว 10 ซม.
- จำนวนประมาณ 60 แผ่น/ตารางเมตร
- น้ำหนักต่อแผ่น ประมาณ 0.85 กก.
- ความหลากหลายของสีสันในการเคลือบกระเบื้องสุโขทัย (กระเบื้องเคลือบดินเผา ทั้งเผาเคลือบแดง ตามแบบดั่งเดิม หรือ สี เขียว เหลือง และน้ำตาลเม็ดมะขาม หรือจะเป็นแบบไม่เผาเคลือบสีให้เลือกใช้ ยังช่วยเพิ่มความสวยงามและให้ทางเลือกในการออกแบบที่หลากหลาย แต่ละสีอาจมีราคาแตกต่างกัน สะท้อนถึงความพิถีพิถันในกระบวนการผลิตและคุณค่าทางศิลปะ
- ราคาเริ่มต้น(กระเบื้องไม่เคลือบสี) ราคาแผ่นละ 1X.XX บาท
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น