คืนตกขบวน... ขึ้นขบวนหุ้นกู้ไม่ทัน ลองหันมาขึ้นขบวนกองทุนตราสารหนี้ดูไหม ?
ข้อมูลกองทุนรวม WealthMagik สะดวกครบจบในที่เดียว รายละเอียดกองทุน เปรียบเทียบกองทุน พร้อมกราฟราคา NAV ย้อนหลัง ค่าธรรมเนียมซื้อขาย ความเสี่ยงที่คุณรับได้
ช่วงหลายปีที่ผ่านมามีหุ้นกู้ออกใหม่เป็นจำนวนมาก เช่น PTT, SCGP, SCC, PTTGC เพียงแค่ระยะเวลาไม่กี่นาทีก็ถูกจองซื้อจนหมดเกลี้ยง มีทั้งนักลงทุนรายใหญ่และนักลงทุนรายย่อยจำนวนมากที่จองซื้อไม่ทัน จึงทำให้หลายคนจึงเกิดข้อสงสัยว่าทำไมหมดไวจัง? แล้วคนที่จองซื้อหุ้นกู้ได้มีเทคนิคหรือวิธีการจองซื้อหุ้นกู้ให้ทันได้อย่างไร ?
ทางเลือกสำหรับคนที่ขึ้นขบวนหุ้นกู้ไม่ทัน
ข้อมูลกองทุนรวม สำหรับคนที่สนใจจะจองซื้อหุ้นกู้แต่จองซื้อไม่ทัน ยังมีอีกหนึ่งทางเลือกที่น่าสนใจ นั่นก็คือ การลงทุนผ่านกองทุนตราสารหนี้ แต่ขอบอกก่อนว่าหุ้นกู้กับกองทุนตราสารหนี้ไม่ได้เหมือนกันซะทีเดียว หุ้นกู้ คือ ตราสารหนี้ที่ออกโดยภาคเอกชนเพื่อระดมทุน เมื่อซื้อหุ้นกู้แล้วผู้ซื้อจะมีสถานะเป็นเจ้าหนี้ ส่วนบริษัทที่ออกหุ้นกู้จะมีสถานะเป็นลูกหนี้ โดยจะได้รับผลตอบแทนในรูปแบบของดอกเบี้ยตามระยะเวลาที่กำหนด ส่วนกองทุนตราสารหนี้ คือ กองทุนรวมที่เน้นลงทุนในตราสารหนี้ เช่นพันธบัตรรัฐบาล และ หุ้นกู้ โดยตราสารหนี้ที่ออกโดยรัฐบาล จะเรียกว่า “พันธบัตรรัฐบาล” ส่วนตราสารหนี้ที่ออกโดยเอกชน จะเรียกว่า “หุ้นกู้” เป็นการรวบรวมเงินจากนักลงทุนมาลงทุนตามนโยบายของกองทุนรวมนั้นๆ เพื่อกระจายความเสี่ยง ซึ่งนักลงทุนจะได้รับผลตอบแทนเป็นกำไรจากการการขายหน่วยลงทุนและเงินปันผลของกองทุนรวม (ในกรณีที่กองทุนมีนโยบายจ่ายเงินปันผล)
ขบวนตราสารหนี้
การลงทุนในกองทุนตราสารหนี้มีข้อดีมากมาย เช่น ใช้เงินลงทุนน้อย(ขึ้นอยู่กับขั้นต่ำการซื้อของแต่ละกองทุน), ซื้อขายได้ทุกวันทำการ, ช่วยกระจายความเสี่ยงในพอร์ต แต่การซื้อหุ้นกู้รายตัวก็มีข้อดีเช่นกัน คือได้รับผลตอบแทนแบบเต็มเม็ดเต็มหน่วย แต่อาจเจอกับความเสี่ยงด้านอัตราดอกเบี้ย การผิดนัดชำระหนี้ หรือแม้แต่การขาดสภาพคล่องของบริษัท และใช้เงินในการลงทุนมากกว่าการลงทุนในกองทุน ถ้าเทียบกันในมุมมองของความเสี่ยงการถือหุ้นกู้ตัวเดียวมีความเสี่ยงมากกว่าการถือหุ้นกู้หลายตัว เพราะการที่เราซื้อกองทุนตราสารหนี้ก็เปรียบเสมือนเราได้ซื้อหุ้นกู้หลายๆ ตัวพร้อมกัน โดยที่เราไม่ต้องเสียเงินลงทุนซื้อหุ้นกู้ที่เราต้องการทีละตัว แถมยังมีการกระจายความเสี่ยงอีกด้วย ตัวอย่างกองทุนตราสารหนี้ไทย เช่น K-FIXED-A , LHSTPLUS-A ลงทุนทั้งในตราสารหนี้ภาครัฐและภาคเอกชนรวมถึงเงินฝากในประเทศไทย มีทั้งแบบระยะสั้นและระยะยาว และกองทุนตราสารหนี้อาจไม่ได้ลงทุนในหุ้นกู้เพียงอย่างเดียวในบางกองทุนอาจลงทุนในพันธบัตรด้วย เช่น PBOND ลงทุนในพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ซึ่งอาจเป็นโอกาสยากที่นักลงทุนรายย่อยจะลงทุนได้
แนะนำขบวนตราสารหนี้ต่างประเทศ
แต่ถ้าหากใครอยากเพิ่มผลตอบแทนในพอร์ตการลงุทน ก็สามารถเปลี่ยนจากการลงทุนในกองทุนตราสารหนี้ไทยไปลงทุนในกองทุนตราสารหนี้ต่างประเทศได้ เพราะตราสารหนี้ต่างประเทศมีโอกาสที่จะได้ผลตอบแทนมากกว่าตราสารหนี้ไทย แต่ก็มีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นเช่นกัน
LHBLUESKY-A กองทุนเปิด แอล เอช บลู สกาย อินคัม ฟันด์ ชนิดสะสมมูลค่า
กระจายการลงทุนในตราสารหนี้ระดับ investment grade ทั้งในสหรัฐฯ และยุโรป
ประเภทกองทุน (AIMC) : Global Bond Discretionary F/X Hedge or Unhedge
ความเสี่ยง : 4
SCBFST กองทุนเปิดไทยพาณิชย์ ตราสารหนี้ระยะสั้นต่างประเทศ ชนิดสะสมมูลค่า
ลงทุนในตราสารหนี้ต่างประเทศระยะสั้น มีโอกาสสร้างผลตอบแทนแบบเชิงรุก
ประเภทกองทุน (AIMC) : Global Bond Discretionary F/X Hedge or Unhedge
ความเสี่ยง : 4
AEOB กองทุนเปิด อเบอร์ดีน อีเมอร์จิ้ง ออพพอร์ทูนิตี้ส์ บอนด์ ฟันด์
ลงทุนในตราสารหนี้ของประเทศตลาดเกิดใหม่ เน้นสร้างผลตอบแทนในระยะยาว
ประเภทกองทุน (AIMC) : Emerging Market Bond Discretionary F/X Hedge or Unhedge
ความเสี่ยง : 6
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น