โภชนบำบัดทางการแพทย์รักษาเบาหวาน

 


ปัจจุบันผู้ป่วยเบาหวานสามารถเลือกรับประทานอาหารต่างๆ ได้เช่นเดียวกับคนปกติ แต่จำเป็นต้องเรียนรู้ว่าจะรับประทานอาหารได้มากน้อยเพียงใดจึงจะไม่ทำให้น้ำตาลในเลือดสูง การรับประทานข้าวแต่น้อยหรือไม่รับประทานเลยแล้วไปเพิ่มอาหารอย่างอื่น เช่น ผลไม้เนื้อสัตว์ ในปริมาณมากๆ ไม่ใช่วิธีการปฏิบัติที่ถูกต้องทั้งยังอาจทำให้ระดับน้ำตาลและไขมันในเลือดสูงอีกด้วย

วิธีการทานอาหารที่ถูกต้อง สำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวาน เบาหวานขึ้นตา

ผู้ป่วยควรเลือกรับประทานอาหารหลากหลายชนิดเพื่อให้ได้สารอาหารครบถ้วนที่ร่างกายต้องการ โดยเลือกรับประทานอาหารตามกลุ่มต่างๆ ดังนี้

กลุ่มที่ 1 คาร์โบไฮเดรต เป็นกลุ่มที่มีผลกระทบต่อระดับน้ำตาลในเลือดโดยตรง คนส่วนใหญ่เข้าใจว่าคาร์โบไฮเดรต มีเฉพาะในอาหารกลุ่มข้าวและแป้ง แต่ที่แท้จริงคาร์โบไฮเดรตยังซ่อนอยู่ในอาหารพวก ผลไม้ นม ผักประเภทหัว น้ำตาลทราย น้ำผึ้ง

อาหารจำพวก ข้าว ก๋วยเตี๋ยวขนมปัง เผือกมัน ถั่วเมล็ดแห้ง 1 ส่วนประกอบด้วย คาร์โบไฮเดรต 15 กรัม โปรตีน 3 กรัม ให้พลังงาน 80 กิโลแคลอรีนั่นคือ

ข้าวสุก ½ ถ้วยตวง (ประมาณ 1 ทัพพีเล็กในหม้อหุงข้าวไฟฟ้า)

ก๋วยเตี๋ยวเส้นใหญ่, เส้นเล็ก ½ ถ้วยตวง (ประมาณ 1 ทัพพีเล็ก)

ถั่วเขียว, ถั่วดำ, ถั่วแดงสุก ½ ถ้วยตวง

ข้าวต้ม ¾ ถ้วยตวง (2 ทัพพีเล็ก), วุ้นเส้นสุก ½ ถ้วยตวง

ขนมจีน 1 จับ, บะหมี่ ½ ก้อน

ขนมปังปอนด์ 1 แผ่น, มันฝรั่ง 1 หัวกลาง

ข้าวโพด 1 ฝัก ( 5 นิ้ว ), แครกเกอร์สี่เหลี่ยม 3 แผ่น

ผู้ป่วยโรคเบาหวานรับประทานอาหารในกลุ่มนี้ได้เช่นเดียวกับคนปกติไม่จำเป็นต้องงดหรือจำกัดมากเกินไป เพราะข้าวเป็นแหล่งของพลังงานที่ร่างกายต้องการใช้เพื่อการทำกิจกรรมต่างๆ ส่วนจะรับประทานได้เท่าไรนั้น ขึ้นกับอายุ น้ำหนักตัวและกิจกรรมหรือแรงงานที่ผู้ป่วยทำ

ผู้ป่วยโรคเบาหวานควรเลือกรับประทานข้าวซ้อมมือ ข้าวกล้อง ธัญพืชที่ผ่านกระบวนการขัดสีน้อยหรือขนมปังที่ทำจากแป้งที่ไม่ขัดสี เพื่อจะได้ใยอาหารเพิ่มขึ้นควรพยายามหลีกเลี่ยงกลุ่มอาหารที่มีส่วนผสมของน้ำตาล เช่น น้ำหวาน น้ำอัดลม น้ำผลไม้ ขนมหวานทั้งแบบไทยและแบบฝรั่ง

กลุ่มที่ 2 ผักชนิดต่างๆ 1 ส่วน มีคาร์โบไฮเดรต 5 กรัม โปรตีน 2 กรัม ให้พลังงาน 25 กิโลแคลอรี

แครอต, ฟักทอง, ข้าวโพดอ่อน ½ ถ้วยตวง

ผักคะน้า, บรอกโคลี ½ ถ้วยตวง

ถั่วแขก, ถั่วลันเตา, ถั่วฝักยาว ½ ถ้วยตวง

น้ำมะเขือเทศ, น้ำแครอต ½ ถ้วยตวง

          อาหารกลุ่มนี้มีวิตามิน เกลือแร่ และใยอาหารสูง ผู้ป่วยเบาหวานควรรับประทานให้มากขึ้นในทุกมื้ออาหาร โดยเฉพาะผักใบสีเขียวสดหรือสุกรับประทานได้ตามต้องการ ถ้านำผักมาคั้นเป็นน้ำ ควรรับประทาน กากด้วยเพื่อจะได้ใยอาหาร จะช่วยลดการดูดซึมน้ำตาลและไขมันในอาหารทำให้ระดับน้ำตาลและไขมันในเลือดลดลง ผู้ป่วยโรคเบาหวานควรรับประทานผักวันละ 2-3 ถ้วยตวง ทั้งผักสดและผักสุกเพื่อให้ได้ใยอาหาร 15 กรัมต่อวัน

กลุ่มที่ 3 กลุ่มผลไม้ 1 ส่วน มีคาร์โบไฮเดรต 15 กรัม ให้พลังงาน 60 กิโลแคลอรี

กล้วยน้ำว้า 1 ผล, ฝรั่ง ½ ผลใหญ่, ส้ม 1 ผล (2 ½ นิ้ว)

กล้วยหอม ½ ผล, แอปเปิล 1 ผลเล็ก, ชมพู่ 2 ผล

มะม่วงอกร่อง ½ ผล, เงาะ 4-5 ผล, ลองกอง 10 ผล

มะละกอสุก 8 ชิ้นขนาดคำ, แตงโม 10 ชิ้นขนาดคำ

น้ำผลไม้ 1/3 ถ้วยตวง

         ผลไม้ทุกชนิดมีน้ำตาลเป็นส่วนประกอบ ถึงแม้จะมีใยอาหารแต่หากรับประทานมากกว่าปริมาณที่กำหนด จะทำให้น้ำตาลในเลือดสูงได้ ผู้ป่วยโรคเบาหวานควรเลือกรับประทานผลไม้ 1 ชนิดต่อมื้อ วันละ 2-3 ครั้งหลังอาหาร ควรหลีกเลี่ยงผลไม้หวานจัด เช่น ทุเรียน ขนุน ละมุด หรือ ผลไม้ตากแห้ง ผลไม้กวนผลไม้เชื่อม ผลไม้แช่อิ่ม ผลไม้กระป๋อง การรับประทานผลไม้ครั้งละมากๆ แม้จะเป็นผลไม้ที่ไม่หวานก็ทำให้น้ำตาลในเลือดสูงได้




ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

รู้จัก Hotmail บริการฟรีอีเมลยอดนิยมของ Microsoft

ซิ ลิ โคน เสริม หน้าอก ยี่ห้อไหนดี

ท่อกระดาษ UD คุณภาพสูง แข็งแรง ติดตั้งง่าย