ทำความรู้จักโรคไต
ทำความรู้จักโรคไต
โรคไต คือ ภาวะเสื่อมถอยของกล้ามเนื้อบริเวณไต หรือที่เรียกกันว่า ไตเสื่อม ไตวาย จากรายงานของสมาคมโรคไตแห่งประเทศไทย พบว่ามีผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังร้อยละ 17.6 ของประชากร หรือปัจจุบันมีจำนวน 8 ล้านคน1 และมีแนวโน้มสูงขึ้นเรื่อย ๆ เนื่องจากพฤติกรรมการกินที่เปลี่ยนไป เช่น การกินอาหารฟาสต์ฟู้ด ขนมขบเคี้ยว และอาหารแช่แข็ง สัญญาณ อาการ โรคไต
โรคไตแบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ
1. โรคไตวายเฉียบพลัน (Acute kidney injury, AKI)
ภาวะที่ไตไม่สามารถทำงานได้ตามปกติในช่วงระยะเวลาใดเวลาหนึ่งโดยคำว่า “เฉียบพลัน” นอกจากบอกถึงช่วงเวลาระยะสั้น ๆ ที่เกิดขึ้นแล้ว ยังหมายถึงความเป็นไปได้ที่ไตจะกลับสู่ภาวะปกติได้ หากผู้ป่วยได้รับการดูแลอย่างเหมาะสม
2. โรคไตเรื้อรัง (Chronic kidney disease, CKD)
โรคไตเรื้อรัง มีสาเหตุมาจากการทำงานของไตเสื่อมถอยอย่างช้า ๆ และต่อเนื่องเป็นระยะเวลานาน โดยเป็นภาวะถาวรและไม่สามารถรักษาให้กลับมาเป็นตามเดิมได้ และเมื่อไตถูกทำลายอาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ตามมาได้
โรคที่มักนำไปสู่ภาวะไตเรื้อรัง ได้แก่ โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง รวมไปถึงการติดเชื้อ และไตอักเสบชนิดต่าง ๆ ยิ่งไปกว่านั้น โรคไตเรื้อรังยังอาจนำไปสู่การเกิดโรคหัวใจ และโรคหลอดเลือดแข็งตามอวัยวะต่าง ๆ ได้อีกด้วย
โรคไตเรื้อรังมีกี่ระยะ?
ในการวินิจฉัยระยะของผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง แพทย์จะอ้างอิงจากค่า ค่าการทำงานของไตหรือค่าอัตราการกรองของเสียของไต (estimated glomerular filtration rate: eGFR) โดยโรคไตเรื้อรังสามารถแบ่งเป็น 5 ระยะ2 ดังนี้
ระยะที่ 1
ภาวะไตเริ่มเสื่อม
ค่าการทำงานของไตประมาณ 90% หรือมากกว่า
ระยะที่ 2 ภาวะไตเสื่อมค่าการทำงานของไตประมาณ 60-89%
ระยะที่ 3 ภาวะค่าการทำงานของไตลดลงปานกลาง
ค่าการทำงานของไตประมาณ 30-59%ระยะที่ 4 ภาวะค่าการทำงานของไตลดลงมาก
ค่าการทำงานของไตประมาณ 15-29%ระยะที่ 5 ภาวะไตวายค่าการทำงานของไตประมาณ 15% หรือน้อยกว่า
จะเห็นได้ว่า ค่าการทำงานของไตจะลดลงเรื่อย ๆ ตามระยะของโรค และหากผู้ป่วยเข้าสู่โรคไตระยะสุดท้ายที่ 5 หรือระยะไตวาย ผู้ป่วยต้องได้รับการบำบัดทดแทนไต (Renal Replacement Therapy) ไม่ว่าจะเป็น การฟอกเลือด การล้างไตผ่านช่องท้อง รวมถึงการเปลี่ยนถ่ายไต2 เพื่อช่วยในการกรองของเสีย และชะลอความรุนแรงของโรค
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น