สบู่เหลวโพแทสเซียมจากน้ำมันพืชใช้แล้ว นักวิจัยจุฬาฯ หนุนชุมชนผลิต ลดวิกฤตสิ่งแวดล้อม สร้างเศรษฐกิจหมุนเวียน

 



น้ำมันพืชที่ใช้ประกอบอาหารแล้ว ไม่ควรนำกลับมาใช้ซ้ำเนื่องจากมีสารก่อมะเร็งและเป็นพิษต่อสุขภาพ นอกจากนี้ หากเท-ทิ้งน้ำมันเหล่านั้นไม่ถูกที่ถูกทางก็จะส่งผลกระทบด้านสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อมอีกด้วย เช่น สภาวะโลกร้อน และปัญหาน้ำท่วมขังอันเนื่องมาจากท่อระบายน้ำอุดตัน

ในทางตรงกันข้าม หากมีการจัดการที่ดี น้ำมันพืชใช้แล้วก็จะกลายเป็น “ทรัพยากรที่มีมูลค่า” ที่สามารถกลับมาเป็นประโยชน์ให้ชุมชนได้อีกครั้ง อย่างที่ในปัจจุบัน น้ำมันพืชใช้แล้วจำนวนหนึ่งจากภาคอุตสาหกรรมอาหาร ถูกแปลงให้เป็นไบโอดีเซล – น้ำมันเชื้อเพลิงทางเลือก

อย่างไรก็ตาม ยังมีน้ำมันที่ผ่านการประกอบอาหารแล้วอีกจำนวนมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาคครัวเรือนและร้านค้า ที่ยังขาดการจัดการอย่างเป็นระบบและเป็นปัญหามาก ซึ่งประเด็นนี้เป็นโจทย์ที่ ดร.ณัฐพงศ์ ตันติวิวัฒนาพันธ์ นักวิจัยสถาบันวิจัยสภาวะแวดล้อม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พยายามหาทางออก ซึ่งหนึ่งในแนวทางแก้ปัญหาคือการวิจัยแปลงน้ำมันพืชใช้แล้วให้เป็นสบู่เหลวโพแทสเซียม ที่ชุมชนสามารถทำได้ด้วยตัวเอง เพื่อใช้ในการทำความสะอาดพื้นผิวต่าง ๆ เช่นสบู่ทั่วไป และต่อยอดใช้กับการควบคุมแมลงในแปลงเกษตรอินทรีย์

น้ำมันพืชใช้แล้ว ปัญหาที่ต้องเร่งจัดการ

น้ำมันพืชใช้แล้ว (Used cooking oil หรือ UCO) เป็นขยะอินทรีย์ที่เกิดขึ้นจากกระบวนการประกอบอาหาร ที่เราทุกคนล้วนมีส่วนเกี่ยวข้อง ทั้งทางตรงและทางอ้อม ไม่ว่าจะเป็นจากอุตสาหกรรมอาหาร ร้านอาหาร โรงแรม และที่น่ากังวลมากที่สุดคือภาคครัวเรือน เนื่องจากยังไม่มีกฎหมายบังคับและควบคุม green chiretta

สถิติจากสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน กระทรวงพลังงาน ระบุว่าในปี 2550 น้ำมันพืชใช้แล้วในประเทศไทยมีปริมาณราว 74 ล้านลิตร ซึ่งหากดูอัตราการบริโภคน้ำมันพืชต่อปีและจำนวนประชากรที่เพิ่มขึ้น ก็อาจประมาณการได้ว่าในปัจจุบัน (2565) ปริมาณน้ำมันพืชใช้แล้วในประเทศน่าจะเพิ่มขึ้นถึงราว 115 ล้านลิตร/ปี – น้ำมันพืชใช้แล้วจำนวนมหาศาลนี้ได้รับการจัดการอย่างไร? และหากจัดการไม่ถูกต้องจะเกิดผลกระทบอย่างไรบ้าง? 

ดร.ณัฐพงศ์ เผยว่า ปัจจุบัน การจัดการน้ำมันพืชใช้แล้วในภาคอุตสาหกรรมอาหารมีกฎหมายของกรมโรงงานควบคุมอยู่ ทั้งการจัดการด้วยระบบการบำบัดน้ำเสียและการนำน้ำมันพืชเหล่านี้ไปผลิตเป็นไบโอดีเซล ทั้งนี้ ประเทศไทยมีโรงงานผลิตไบโอดีเซล 15 โรง ซึ่งส่วนใหญ่กระจายอยู่ในพื้นที่ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคใต้

“ราคารับซื้อน้ำมันพืชใช้แล้วในพื้นที่ที่ตั้งอยู่ใกล้โรงงานผลิตไบโอดีเซลจะได้ราคาดี แถมยังมีผู้มารับซื้อถึงหน้าโรงงาน ซึ่งเป็นแรงจูงใจให้นำน้ำมันใช้แล้วกลับไปสร้างประโยชน์ แต่ในพื้นที่ภาคเหนือและภาคอีสาน ที่อยู่ไกลจากโรงงานผลิตไบโอดีเซล ราคารับซื้อน้ำมันไม่สู้จะจูงใจนัก เพราะมีค่าการขนส่ง ทำให้แหล่งที่มีน้ำมันพืชใช้แล้ว เช่น ร้านค้า เลือกที่จะทิ้งน้ำมันใช้แล้วมากกว่า” ดร.ณัฐพงศ์ แจงปัญหา

เช่นเดียวกับภาคครัวเรือน ที่ยังไม่มีระบบและขาดแรงจูงใจในการเก็บน้ำมันพืชใช้แล้วเพื่อแปลงเป็นไบโอดีเซล ดังนั้น ประชาชนส่วนใหญ่จึงมักเทน้ำมันลงในท่อระบายน้ำ หรือเทรวมกับขยะอื่น ๆ ซึ่งก่อให้เกิดผลเสียกับสิ่งแวดล้อมเป็นอย่างมาก

ดร.ณัฐพงศ์ อธิบายว่าการเทน้ำมันพืชใช้แล้วลงท่อระบายน้ำ โดยไม่มีบ่อดักไขมัน จะทำให้ท่อระบายน้ำอุดตัน เกิดกลิ่นเหม็น เป็นปัญหากับการบำบัดน้ำเสีย ซึ่งสุดท้ายแล้วก็จะส่งผลให้เกิดปัญหาน้ำท่วมขัง หรือ น้ำรอการระบาย เช่นที่เกิดขึ้นในกรุงเทพมหานคร และอีกหลายพื้นที่ในเขตเมือง

ส่วนการเทน้ำมันพืชใช้แล้วลงในถุงขยะพลาสติกและปนกับขยะทั่วไป ซึ่งเกิดขึ้นในครัวเรือนส่วนมาก ก็จะเป็นปัญหากับการคัดแยกขยะเพื่อนำไปใช้ประโยชน์ต่อไป


ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

รู้จัก Hotmail บริการฟรีอีเมลยอดนิยมของ Microsoft

ซิ ลิ โคน เสริม หน้าอก ยี่ห้อไหนดี

ท่อกระดาษ UD คุณภาพสูง แข็งแรง ติดตั้งง่าย