เตรียมก่อนสูงวัย สมองใส ห่างไกลโรคอัลไซเมอร์ ศูนย์ดูแลภาวะสมองเสื่อม

 

สาเหตุของการเกิดภาวะสมองเสื่อมในผู้สูงอายุ ที่พบบ่อย

โรคอัลไซเมอร์เป็นสาเหตุสำคัญและพบได้บ่อยที่สุดของการเกิดภาวะสมองเสื่อมในผู้สูงวัย ยิ่งอายุขัยเฉลี่ยของคนไทยสูงขึ้น โอกาสพบภาวะสมองเสื่อมก็มีมากขึ้น รองศาสตราจารย์ นพ.สุขเจริญ ตั้งวงษ์ไชย หัวหน้าศูนย์ดูแลภาวะสมองเสื่อม โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ เผยว่า 6 ใน 10 คนของผู้ป่วยที่มีภาวะสมองเสื่อมมีสาเหตุเกิดจากโรคอัลไซเมอร์ และประมาณการว่าปัจจุบันประเทศไทยมีผู้ป่วยภาวะสมองเสื่อมราว 6 แสนคน!   

โดยนพ.สุขเจริญ ตั้งวงษ์ กล่าวว่า “โรคอัลไซเมอร์เป็นโรคที่รักษาไม่หาย แต่เราสามารถชะลอการเสื่อมถอยของโรคสมองเสื่อม ระยะสุดท้ายให้เกิดช้าที่สุดได้ อย่างไรก็ดี การตรวจวินิจฉัยและการบำบัดรักษาเมื่อเกิดอาการแล้วอาจช้าเกินไป โรคนี้เมื่อเป็นแล้ว ไม่ได้เป็นปัญหาเฉพาะตัวผู้ป่วยเท่านั้น แต่ยังส่งผลกระทบไปถึงผู้ดูแลที่จะต้องดูแลผู้ป่วยตลอด 24 ชั่วโมง อาจทำให้เกิดภาวะเครียด ถือเป็นเรื่องที่ผู้ดูแลต้องเผชิญในการดูแลผู้ป่วย อัลไซเมอร์ ดังนั้น การสร้างความตระหนักรู้เพื่อป้องกันการเกิดโรคอัลไซเมอร์จึงจำเป็นสำหรับทุกคน” รศ.นพ.สุขเจริญ กล่าวถึงข้อห่วงใยในอนาคตอันใกล้เมื่อสังคมไทยก้าวเข้าสู่สังคมสูงวัยอย่างสมบูรณ์แบบ ( super age society )ในปี 2574 ที่เราจะมีสัดส่วนประชากรผู้สูงอายุราว 28 % ซึ่งหมายความว่าแนวโน้มการพบผู้ป่วยสมองเสื่อมก็จะเพิ่มขึ้นมากกว่าในปัจจุบัน fah talai jone


อาการเริ่มต้นของโรคอัลไซเมอร์

ภาวะสมองเสื่อมเป็นกลุ่มอาการเสื่อมถอยของสมรรถภาพสมองในด้านการรู้คิด (cognition) ซึ่งมี 6 ด้าน ได้แก่ ความจำและการเรียนรู้ การใช้ภาษา สมาธิเชิงซ้อน ความสามารถในการบริหารจัดการ การรับรู้ทักษะการเคลื่อนไหว และการรู้คิดด้านสังคม จนมีผลกระทบกับการใช้ชีวิตประจำวันและต้องพึ่งพาผู้ดูแล บางคนอาจจะมีอาการทางจิตหรือพฤติกรรมร่วมด้วย โรคอัลไซเมอร์เป็นโรคที่พบได้บ่อยที่สุดในกลุ่มภาวะสมองเสื่อมโดยจะมีอาการแสดงในระยะเริ่มต้นในปัญหาด้านความจำนำมาก่อนอาการด้านอื่นๆ     

“เราอาจสังเกตอาการเตือนของโรคสมองเสื่อม โรคความจำเสื่อม ได้จากพฤติกรรมอาการหลงลืม จำสิ่งที่เพิ่งเกิดขึ้นไม่ได้ เช่น

  • พูดหรือถามคำถามเดิมซ้ำๆ  
  • วางของผิดที่ อย่างเอาโทรศัพท์ไปใส่ตู้เย็น เอาแปรงสีฟันไปใส่ตู้กับข้าว 
  • เอาของใช้ในครัวไปไว้ในห้องน้ำ แล้วก็หาของชิ้นนั้นไม่เจอ 
  • จำนัดหมายไม่ได้  
  • จำรายละเอียดเหตุการณ์ที่พึ่งผ่านไปไม่ได้  
  • กินข้าวแล้วบอกว่ายังไม่ได้กิน เป็นต้น

ซึ่งอาการเหล่านี้จะต่างจากคนสูงวัยที่มีอาการหลงลืมทั่วไปคือ อาการหลงลืมเกิดขึ้นบ่อย ต้องใช้เวลานานในการนึกทบทวนแล้วก็ยังนึกไม่ออก เหมือนความจำเรื่องนั้นมันไม่เคยเกิดขึ้นหรือมันหายไปเลย ในขณะที่คนทั่วไปจะหลงลืมชั่วขณะแล้วพอจะนึกออกได้ในเวลาต่อมา”

รศ.นพ.สุขเจริญ อธิบายต่อไปว่านอกจากอาการหลงลืมที่ส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวันแล้ว ผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์จะมีปัญหาด้านการสื่อสาร ไม่สามารถมีสมาธิจดจ่อกับเรื่องต่างๆ ได้นาน วางแผนหรือตัดสินใจใช้เหตุผลแก้ไขปัญหาไม่ได้ มีวิธีการคิดใช้เหตุผลไม่เหมาะสม มีปัญหาเรื่องมิติและทิศทางไม่สามารถทำกิจกรรมที่มีลำดับขั้นตอนที่เคยทำได้ เช่น การใช้โทรศัพท์หรืออุปกรณ์ไฟฟ้า เริ่มไม่สามารถทำกิจวัตรประจำวันที่เคยทำได้หนักขึ้นเรื่อยๆ มีการเปลี่ยนแปลงบุคลิกภาพ บางคนจะมีอารมณ์หงุดหงิดเปลี่ยนแปลงง่าย  

“บุคลิกภาพของผู้ป่วยอัลไซเมอร์จะเปลี่ยนไปจากเดิมร่วมกับมีปัญหาทางจิตหรือพฤติกรรม เช่น มีอาการระแวง หึงหวงทั้งที่ไม่เคยเป็น พูดจาหยาบคาย วิตกกังวล หวาดกลัวไม่สมเหตุผล มีความสนใจสิ่งแวดล้อมลดลง ไม่สนใจเข้าสังคม แยกตัว จากที่เคยออกไปทำกิจกรรมกับเพื่อนๆ นอกบ้าน อยู่ๆ ก็ไม่ไป เฉื่อยชาไม่ทำอะไร ไม่สนใจคนรอบข้าง ” 



ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

รู้จัก Hotmail บริการฟรีอีเมลยอดนิยมของ Microsoft

ซิ ลิ โคน เสริม หน้าอก ยี่ห้อไหนดี

ท่อกระดาษ UD คุณภาพสูง แข็งแรง ติดตั้งง่าย