วิธีดูแลสุขภาพตามช่วงวัย
วิธีดูแลสุขภาพตามช่วงวัย
วัยทำงาน อายุ 30-40 ปีขึ้นไป เริ่มสร้างครอบครัว มีภาระความรับผิดชอบสูง ความเครียดรุมเร้า ระดับฮอร์โมน หลายชนิดเริ่มลดลงต่ำ มีอาการอ่อนเพลีย ไม่สดชื่น ปวดศีรษะ ปวดหลัง รวมถึงอาการออฟฟิศซินโดรม เมื่อเกิด อาการเจ็บป่วยเริ่มใช้เวลาในการฟื้นฟูนานขึ้น เริ่มมองเห็นความเสื่อมโทรมของร่างกาย อาทิ ริ้วรอยบนใบหน้า หรืออาการปวดเมื่อยตามร่างกาย
- วิตามิน วัยนี้มักเริ่มมีอาการเสื่อม เช่น อ่อนเพลีย นอนหลับไม่สนิท ผิวหนังเริ่มมีริ้วรอย ควรเสริมวิตามินบี วิตามินซี วิตามินอี และโคเอนไซม์คิวเทน [1]
- อาหาร การเผาผลาญเริ่มไม่ดี อ้วนง่าย ควรหลีกเลี่ยงอาหารที่มีแคลอรีสูง คาร์โบไฮเดรตสูง ไขมันสูง และ อาหารรสจัด เผ็ดจัด เปรี้ยวจัด เค็มจัด อีกทั้งยังควรหลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์
- ออกกำลังกาย ควรเลือกออกกำลังกายที่ช่วยเพิ่มมวลกระดูก และกล้ามเนื้อ เช่น แอโรบิค วิ่ง ว่ายน้ำ ยก น้ำหนัก ปัญหาการออกกำลังกายของคนในวัยนี้คือ “ไม่มีเวลา” ควรหยุดสร้างเงื่อนไขหรือข้ออ้างเพื่อ หลีกเลี่ยงการออกกำลังกาย
ภาวะเนือยนิ่ง เริ่มมีมากขึ้นจากช่วงวัยรุ่น เช่น การนั่งประชุมนาน ๆ การนั่งทำงานอยู่หน้าจอคอมวันละ 8 ชั่วโมง รถติดอยู่บนท้องถนนวันละหลายชั่วโมงทั้งเช้าและเย็น วันหยุดก็อยากนอนไม่อยากออกไปข้างนอก ไม่อยากมี กิจกรรม ปัจจัยทั้งหมดทำให้เซลล์กล้ามเนื้อเสื่อม เป็นสาเหตุให้ขาดความกระฉับกระเฉง และไม่สดชื่น
เมื่อสูงวัยในอายุ 50 ปีขึ้นไป อาการต่างๆ จะชัดเจนมากขึ้น เริ่มนอนไม่หลับ หลับไม่สนิท สมรรถภาพทางเพศลดลง ริ้วรอยเหี่ยวย่นชัดเจน ตรวจสุขภาพเริ่มพบปัญหาไขมันหรือน้ำตาลในเลือดสูง เพิ่มความเสี่ยงโรคหัวใจ เบาหวาน ความจำเสื่อม ซึ่งภาวะเหล่านี้ป้องกันได้โดยเริ่มต้นตั้งแต่ลดสารอนุมูลอิสระ รับประทานอาหารไม่หวานจัดมันจัด มันจัด หรือเค็มจัด รับประทานวิตามิน และแร่ธาตุเสริมที่เหมาะสม หลีกเลี่ยงมลภาวะ และควรได้รับอาหารเสริมทดแทนตาม ที่ร่างกายต้องการ
- อาหารสูตรครบถ้วน การรับประทานอาหารที่มีโปรตีน กรดอะมิโนและการได้รับวิตามินและแร่ธาตุที่ดีเพียงพอ จะ ช่วยให้มีกล้ามเนื้อที่แข็งแรง อาหารสูตรครบถ้วนจึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่ช่วยให้ร่างกายได้รับสารอาหารต่างๆ ครบถ้วนและเพียงพอในแต่ละวัน
- วิตามิน ควรเสริมวิตามินบี วิตามินซี เพื่อชะลอความเสื่อมของร่างกาย วิตามินอี โคเอนไซม์คิวเทน น้ำมันปลา วิตามินดี แคลเซียม แมกนีเซียม Alphalipoic Acid เป็นต้น ถ้ามีปัญหาเฉพาะ เช่น นอนไม่หลับ ความจำลดลง ก็ ต้องได้รับวิตามินเสริม ซึ่งควรปรึกษาเภสัชกร
- อาหาร ประสิทธิภาพการเผาผลาญอาหารของร่างกายลดลง จึงควรรับประทานอาหารที่ย่อยง่าย แคลอรีต่ำ หลีกเลี่ยงอาหารหวาน อาหารไขมันสูง และการดื่มแอลกอฮอล์
- ออกกำลังกาย ควรออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอในแบบที่ไม่หักโหม เช่น วิ่งจ๊อกกิ้ง ว่ายน้ำระยะทางใกล้ๆ หรือ ออกกำลังกายในน้ำเพื่อช่วยรักษาไขข้อ มวลกระดูก และมวลกล้ามเนื้อ
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น